ในระบบนิวเมติกหรือ ระบบลม (Pneumatic System) สิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่าอุปกรณ์ต่างๆในระบบนั้นก็คือ ลม
เมื่อปั๊มลมได้อัดอากาศจนมีแรงดันมากตามความจุและความสามารถของอุปกรณ์แล้ว การเดินทางของลมจากปั๊มลมไปยัง จุดต่างๆที่ต้องการใช้แรงดันภายในสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรม และที่ต่างๆที่ต้องการใช้งาน นั่นคือ การจ่ายลมหรือกระจายแรงดัน (Pressure Distribution)
หลักการเดินท่อจ่ายลม
- การเดินท่อจะต้องให้ลาดเอียงลงอย่างน้อย 1-2% ของความยาวท่อ
- การต่อแยกท่อเพื่อใช้งานจะต้องต่อจากด้านบนของท่อ Main เสมอ
- ปลายสุดของท่อควรจะมีอุปกรณ์ดักน้ำเพื่อระบายน้ำออกจากท่อ
ลักษณะการเดินท่อจ่ายลม
การเดินแบบแยกสาขา (Branch line)
การเดินท่อจ่ายลมอัดแบบนี้เหมาะส่าหรับในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีจ่านวนอุปกรณ์นิวแมติกส์ไม่มากนัก
การเดินท่อลักษณะนี้ถ้าเพิ่มอุปกรณ์นิวแมติกส์เข้ามาในระบบอีก โดยไม่ได้ค่านึงถึงความสามารถของเครื่องอัดลม จะท่าให้อุปกรณ์นิวแมติกส์ตัวสุดท้ายในระบบมักจะท่างานไม่ได้
การเดินท่อแบบวงแหวน (Ring circuit)
เป็นการวางท่อลมรอบโรงงาน เพื่อให้ความดันลมในท่อสม่ำเสมอกันในทุกจุดแม้จะมีการใช้ปริมาณลมอัดที่มากก็ตาม การวางท่อเป็นวงรอบโรงงาน ซึ่งการวางท่อแบบนี้เป็นการแก้ปัญหาเรื่องความดันตกคร่อม แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
ลักษณะการจ่ายลมด้วยท่ออ่อน
การจ่ายลมด้วยท่ออ่อนนั้น ใช้ต่อระหว่างอุปกรณ์จ่ายลม หรืออุปกรณ์ควบคุมกับอุปกรณ์ทำงานโดยใช้ Fitting ต่อเพื่อความสะดวกรวดเร็วท่ออ่อนนั้น แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- ทำจากยางเป็นชั้น และเสริมใยสังเคราะห์ เพื่อความแข็งแรงทนทานในการใช้งาน
- ทำจากพลาสติก เช่น Nylon, Soft nylon เป็นต้น
การติดตั้งท่อลมอัด
การวางท่อลมส่งลมอัดตามแนวนอนควรจะวางให้มีมุมเอียงลาดประมาณ 1 ถึง 2% ของความยาวท่อลมอัด และที่จุดปลายต่ำสุดหรือบริเวณ ที่อยู่ต่ำกว่าระดับ จะต้องติดวาล์วหรือกับดักน้่าส่าหรับระบายน้่าที่เกิดการกลั่นตัวในท่อทางทิ้ง ดังรูป
การต่อสายลมเข้าอุปกรณ์นิวแมติกส์
การต่อสายลมเข้ากับข้อต่อลมมีความส่าคัญ เพราะถ้าการเสียบสายไม่ถูกต้องหรือเสียบสายไม่สุดจะท่าให้เกิดอันตราย สายลมอาจจะหลุดจากหัวเสียบท่าให้เหวี่ยงไปมาได้
การถอดสายลม
ส่าหรับการถอดสายลมนั้นมีวิธีในการถอด คือจะต้องใช้นิ้วกดลงไปที่วงแหวนรอบสายแล้วถึงจะดึงสายลมออก วิธีแบบนี้มักจะพบในเครื่องนิวแมติกส์ ที่ใช้กับการฝึกหัด หรือแผงทดลอง แต่ส่าหรับในเครื่องจักรนิวแมติกส์ที่ใช้ ในงานอุตสาหกรรมแล้วมักจะไม่มีวงแหวนอยู่โดยรอบ ดังนั้นการถอดออกจึงใช้ไขควงกดที่ขอบหัวต่อสายแล้ว จึงดึงสายลมออก
ปัญหาที่พบบ่อยจากการเดินท่อเมนลมอัดในโรงงานอุตสาหกรรม
ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่คือความดันลมอัดและปริมาณลมอัดที่ใช้มักจะมีความดันและปริมาณลม ไม่เพียงพอส่าหรับอุปกรณ์ของนิวแมติกส์ตัวท้ายๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากความดันตกคร่อมในท่อเมนมากเกินไป (โดยปกติความดันตกคร่อมที่อนุญาตให้ไม่เกิน 5% ของความดันใช้งาน) สาเหตุที่เกิดความดันตกคร่อมขึ้นในระบบท่อทางจ่ายลมอัดก็คือ
- การเดินท่อเมนมีข้องอมากเกินไป ในกรณีที่ต้องการเดินท่อจ่ายลมอัดให้สวยงาม โดยเดินท่อลมติดกับตัวอาคาร ปัญหาที่จะพบอยู่บ่อยครั้งก็คือท่าให้เกิดมีข้องอมากเกินไป
- การเลือกขนาดของเครื่องอัดลม ไม่สัมพันธ์กับอุปกรณ์นิวแมติกส์ที่ใช้ในโรงงาน คือมีเครื่องอัดลมขนาดเล็กเกินไป
- เลือกขนาดของท่อจ่ายลมอัดไม่ถูกต้อง
- มีการเพิ่มอุปกรณ์นิวแมติกส์เข้ามาใช้ในโรงงาน โดยที่ไม่ได้ค่านึงถึงความสามารถของเครื่องอัดลมที่ใช้งานอยู่
ข้อมูลจาก SMC Thailand