อุปกรณ์ไฮดรอลิค (Hydraulic) ที่เราๆ ท่านๆ ใช้งานกันในโรงงานนั้น อาจเกิดปัญหาจุกจิกขึ้นได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ปั้มไฮดรอลิคมีเสียงดังผิดปกติ อาจสัญญาณเริ่มต้นของความเสียหาย เป็นต้น เรามาดูวิธีการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นต่างๆ เหล่านี้กันดีกว่าครับ
7 ข้อสังเกตุ ก่อนเหตุใหญ่จะตามมา
พบฟองอากาศผสมในน้ำมันไฮดรอลิค
ควรเริ่มตรวจสอบท่อน้ำมันไหลกลับ ต้องอยู่ต่ำกว่า ระดับน้ำมันไฮดรอลิคตลอดเวลา และระยะห่างระหว่างท่อน้ำมันไหลกลับ กับท่อดูดของปั๊มไฮดรอลิคนั้นต้องห่างกัน ในระยะที่พอสมควร ไม่ชิดกันจนเกินไป
ยอยด์ต่อ (Coupling) ไม่ได้ศูนย์
ปรับตั้งศูนย์ Alignment Coupling ให้อยู่ใน พิกัด 0-25 mm.TIR และค่า Angular torerance 0.2O
มีอากาศรั่วเข้าทางด้านดูดของปั๊มไฮดรอลิค
โดยเข้าทางช่องว่างระหว่างเพลาปั๊มกับซีล ทดสอบง่ายๆ ด้วยการเทน้ำมันบนเพลา และซีล เพื่อทดสอบว่าอากาศเข้าได้หรือไม่ หากพบว่ามีช่องว่างควรเปลี่ยนซีลให้เรียบร้อย
รอบหมุนของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป
ปรับลดรอบหมุนของปั๊มให้พอดีกับค่าสูงสุดที่ แนะนำในคู่มือของปั๊ม
ความหนืดของน้ำมันสูงหรือต่ำไป
เลือกใช้น้ำมันที่มีความหนืดตามค่าที่แนะนำในคู่มือ
กรองด้านดูด (suction filter) ไม่ได้ขนาด
อาจเล็กเกินไปทำให้การดูดของปั๊มไม่สะดวก เปลี่ยนกรองขาดูดให้ได้ขนาดที่เหมาะสม
นอกเหนือจากนั้น ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบไฮดรอลิคก็นับว่าเป็นอีกปัญหาหลักเช่นเดียวกัน ดังนั้นลองมาดูสาเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนในระบบ และวิธีการแก้ปัญหาความร้อนเหล่านี้ในระบบไฮดรอลิค
สาเหตุและทางแก้เรื่องความร้อนในระบบไฮดรอลิค
ระบบที่ใช้ Accumulator ผิดปรกติ
- ตรวจสอบวงจรไฟฟ้า, โซลีนอยด์วาล์ว และสัญญาณไพล็อต, และ Unloading valve ว่าทำงานถูกต้องหรือไม่
- ตรวจสอบตัว Accumulator ด้วยว่ามีการเติมแก๊สก่อนการใช้งานถูกต้องหรือไม่ หรือมีการรั่วเกิดขึ้น ถ้าเป็น Accumulator แบบลูกสูบ ตรวจเช็คว่าลูกสูบ เลื่อนขึ้นลงได้สะดวกหรือไม่ และตรวจสอบ Bladder ของ Accumulator ว่ามีการแตกหรือชำรุดหรือไม่
ขนาดของถังน้ำมัน (Hydraulic Tank) มีขนาดไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับอัตราการไหลของปั๊ม
เพิ่มอุปกรณ์ระบายความร้อนในระบบไฮดรอลิค หรือเพิ่มระบบปลดแรงดัน
อุปกรณ์ระบายความร้อนไม่ทำงาน
ตรวจสอบว่าน้ำมันไหลไปทาง Bypass วาล์ว หรือน้ำหล่อเย็น (Cooling water) ไม่ไหลผ่านเข้าใน ชุดระบายความร้อน (Heat Exchanger)
ความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิคสูงเกินไป
ตรวจสอบความหนืดของน้ำมัน และเปลี่ยนน้ำมันใหม่ให้มีค่าความหนืดที่เหมาะสม
มีการรั่วซึมภายในของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบไฮดรอลิคมากกว่าปรกติ
ตรวจสอบซีลตามจุดต่างๆ และชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ของปั๊ม, วาล์ว, กระบอกสูบ เพื่อดูการสึกหรอและเปลี่ยนใหม่ตามอายุและความเหมาะสม
แรงดันของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป
ปรับแรงดันของระบบไม่ให้เกินความต้องการของงานและระบบที่ใช้
ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องกับระบบและอุปกรณ์ไฮดรอลิคควรให้ความสนใจและใส่ใจ เพื่อให้อุปกรณ์มีอายุการใช้งานยาวนานและลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรครับ