02-591-6468 hello@engineer180.com

ลมอัดที่ออกมาจาก คอมเพรสเซอร์ จะถูกเก็บไว้ในถังเก็บลมที่ทำจากแผ่นเหล็ก ซึ่งนำมาเชื่อมต่อกัน โดยอาจจะติดตั้งไว้ในแนวนอน หรือแนวตั้งก็ได้ จุดประสงค์หลักของถังเก็บลมก็คือ เพื่อเป็นการลดภาระในการทำงานของคอมเพรสเซอร์

ในการติดตั้งควรติดตั้งไว้ในสถานที่อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก นอกจากนี้ถังที่เก็บลมควรติดตั้ง Safety Valve , เกจความดัน , ตัวระบายน้ำ และฝาครอบเพื่อใช้ในการตรวจสอบ และทำความสะอาดภายในถัง

ถังเก็บลมอัดในระบบนิวเมติก Air Tank
ถังเก็บลมอัดในระบบนิวเมติก Air Tank

หน้าที่ของถังเก็บลมอัด

  1. กักเก็บลมอัดที่เครื่องอัดอากาศผลิตออกมา
  2. รักษาปริมาณลมอัดให้เพียงพอกับการใช้งาน
  3. จ่ายลมอัดออกไปใช้งานด้วยความดันสม่ำเสมอ
  4. ระบายความร้อนให้กับลมอัด
  5. แยกไอน้ำบางส่วนที่ปะปนมากับอากาศซึ่งกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ เมื่ออุณหภูมิลดลง

ส่วนประกอบของถังลมอัด [Air Tank component]

  1. ถังเก็บลมอัด
  2. วาล์วควบคุมความปลอดภัย เพื่อระบายความดันที่เกินพิกัดออกสู่บรรยากาศ
  3. เกจวัดความดัน เพื่อวัดความดันภายในถัง
  4. วาล์วระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำที่กลั่นตัวทิ้ง
  5. วาล์วปิดเปิด เพื่อควบคุมการใช้ลมอัด
  6. ท่อต่อระหว่างถังลมกับคอมเพรสเซอร์ควรติดตั้งวาล์วกันกลับ

ขนาดของถังเก็บลม [Air Tank size]

ขนาดของถังเก็บลมจะขึ้นอยู่กับ ปริมาณลมที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ ขนาดของระบบรวมทั้งปริมาณความต้องการใช้ลมด้วย

คอมเพรสเซอร์ที่อาศัยการขับเคลื่อนด้วยพลังงานทางไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม จะทำหน้าที่ส่งจ่ายลมอัดไปยังอุปกรณ์นิวแมติกส์ไปทั้งโรงงาน ซึ่งโดยปกติแล้วคอมเพรสเซอร์จะต่อการทำงานโดยเมื่อความดันต่ำสุด และที่ความดันสูงสุดคอมเพรสเซอร์จะตัดการทำงานทันที

การควบคุมการทำงานคอมเพรสเซอร์แบบนี้เรียกว่า การควบคุมแบบอัตโนมัติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทราบค่า ความดันต่ำที่สุดที่อุปกรณ์นิวแมติกส์สามารถทำงานได้นั้นอยู่ที่ค่าเท่าไรเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดต่อการทำงานของคอมเพรสเซอร์ให้ลดน้อยลง

ตารางขนาดมาตรฐานถังเก็บลมอัด
ตารางขนาดมาตรฐานถังเก็บลมอัด

สำหรับในโรงงานอุตสาหกรรมแล้วสามารถคำนวณหาขนาดของถังเก็บลมได้ดังนี้

ความจุของถังเก็บลมอัด = ลมอัดทางด้านขาออกของคอมเพรสเซอร์ต่อนาที (Not Free Air delivery)

ตัวอย่างที่ 1 คอมเพรสเซอร์ส่งจ่ายลมอัดที่ 18 ลบ.ม. ต่อนาที ความดันใช้งานในไลน์เฉลี่ย 6 บาร์

ดังนั้นลมอัดทางด้านขาออกต่อนาที = 18,000 / 7 = 2,500 ลิตร โดยประมาณ

ถังเก็บลมอัดจึงควรมีปริมาตรของความจุลมอัดที่ 2,750 ลิตร ซึ่งเป็นขนาดที่มีให้และเหมาะสมที่สุด เป็นต้น