การบำรุงรักษา ระบบนิวเมติกส์ ที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น ผู้ปฏิบัติงานสามารถดำเนินการได้เองเบื้องต้น โดยสามารถหาได้จากเอกสารคำอธิบายที่ผู้จัดจำหน่ายมัก หรือตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์นิวเมติกเหรล่านั้นได้จัดเตรียมมาให้พร้อมกับสินค้า ซึ่งจะมีรายละเอียดพร้อมข้อควรระวังอยู่ด้วย
ในปัจจุบัน ระบบนิวเมติก ถูกนำมาประยุกย์ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแพร่หลาย และมักจะพบกันอยู่เป็นประจำว่า มีการใช้งานที่ผิดวิธีหรือขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้ไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์นิวแมติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลต่ออายุการใช้งานที่สั้นลงอีกด้วย
ระบบนิวเมติก มีส่วนสำคัญในภาคการผลิต หลากหลายอุตสาหกรรมมีการนำระบบนิวเมติกไปใช้แทบทุกอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ได้แก่
- อุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ Food/Packaging
- อุตสาหกรรมผลิตยา Pharmaceuticals
- อุตสาหกรรมยานยนต์ประเภทต่างๆ Automotive
- อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ Electronics
และอื่นๆ ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมก็แยกย่อยลงไปอีก เช่น ในอุตสาหรกรรมอาหารก็แยกย่อยเป็นการผลิตนม ผลิตเนื้อ และเบเกอรี่ เป็นต้น
ในบทความนี้เราขอนำเสนอวีดีโอที่แสดงภาพรวมของอุปกรณ์นิวเมติก และการนำระบบนิวเมติกส์ไฟฟ้าเข้าไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตช๊อคโกแลต ซึ่งวีดีโอนี้เราจะได้เห็นกระบวนการผลิต ตั้งแต่การลำเลียงวัตถุดิบ การขนถ่ายวัสดุ การนำอุปกรณ์นิวเมติกเข้าไปใช้ในการผลิต ช่วยลดระยะเวลาในการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทั้งระบบ ช่วยให้เราเห็นภาพรวมและเข้าใจถึงการใช้อุปกรณ์นิวเมติกในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ
การบํารุงรักษาระบบนิวเมติกส์
ระบบลมอัด เป็นระบบต้นกำลังที่มีพื้นฐานด้านความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีระดับหนึ่ง ถ้าเราให้ความเอาใจใส่ดูแลระบบอย่างสม่ำเสมอ ในระหว่างการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระบบ มีข้อพึงระวังที่ต้องปฏิบัติดังนี้
- ต้องมั่นใจว่าทำการปิดระบบและถ่ายลมอัดออกจากระบบจนหมดก่อนดำเนินการถอมท่อลมอัดหรือข้อต่อ
- ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ทำงานทุกชนิด เช่น กระบอกลม อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย ก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการกระแทกและก่อให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บหรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหาย
- ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ข้อต่อ และสายลม (Tube) อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ
- ควรระมัดระวังการทำงานของกระบอกลม ขณะกำลังเคลื่อนที่ออกหรือเข้าจนเกือบสุดระยะชักแล้ว เพราะถ้ายังไม่หยุดนิ่งก็ยังอาจเป็นอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้
- อย่าคิดว่ากระบอกลมจะมีความเร็วที่สม่ำเสมอตลอดเวลา คงไม่เป็นปัญหา
- อย่าคิดว่าขั้นตอนการทำงาน (Sequence) จะทำซ้ำเหมือนเดิมทุกครั้งไป
ในกรณีทีมีการดำเนินการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมระหว่างการทำงานโดยใช้ปุ่มสัญญาณฉุกเฉินหยุดเครื่องจักรควรคำนึงถึงความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้
- กระบอกลม อาจเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงของชิ้นงาน
- กระบอกลม อาจเคลื่อนที่ได้ เมื่อมีการถอดสายลมสัญญาณ
- การทำงานหยุดชั่วขณะอันเป็นผลมาจากการสูญเสียแรงดันลม
ข้อควรพิจารณาเมื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบนิวเมติก
- ปิดลมและระบายลมออกจากระบบทุกครั้งก่อนการแก้ไขหรือตรวจเช็ควงจร
- กระบอกสูบ (Air Cylinder) หรืออุปกรณ์ทำงานต้องติดตั้งให้แน่นและมั่นคง
- ควรตรวจเช็คให้มีสิ่งกีดขวางต่างๆ อยู่ในบริเวณการเคลื่อนที่ของกระบอกสูบหรืออุปกรณ์ทำงาน
- ตรวจเช็ค ข้อต่อและสายลม ให้แน่นก่อนจ่ายลมเข้าระบบ
- รายงานหรือแจ้งข้อบกพร่องของอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้าให้กับผู้ควบคุมดูแลทราบก่อนการดำเนินการขั้นต่อไป
- ไม่ควรแก้ไขหรือดัดแปลงอุปกรณ์ด้วยตนเองโดยปราศจากผู้ควบคุม หรือผู้เชี่ยวชาญ
- ไม่ควรเล่นอุปกรณ์ สายหรือท่อลมนิวเมติก
- ไม่ควรไว้ใจว่าอุปกรณ์ทำงานจะหยุดนิ่ง ในขณะที่ยังทำการจ่ายลมอัดอยู่
- ไม่ควรยึดถือว่าความเร็วของอุปกรณ์ทำงานคงที่เสมอ
- ขั้นตอนในการเคลื่อนที่จะสมบูรณ์แบบเหมือนกับโปรแกรมที่วางไว้ย่อมเป็นไปไม่ได้
ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่กล่าวมาข้างต้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบความปลอดภัยในเครื่องจักรบางเครื่อง อาจกำหนดเงื่อนไขด้านความปลอดภัย โดยการควบคุมแรงดันลม พนักงานที่ปฏิบัติงาน และช่างซ่อมบำรุงควรมีความรู้และความคุ้นเคยเกี่ยวกับลักษณะของการออกแบบระบบความปลอดภัยของเครื่องจักรรุ่นต่าง ๆ อย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้